4 ประเภทร้านกาแฟ กับ 10 ขั้นตอนของคนที่อยากลงทุน เปิดร้านกาแฟ

3487 จำนวนผู้เข้าชม  | 

4 ประเภทร้านกาแฟ กับ 10 ขั้นตอน

ของคนที่อยากลงทุน เปิดร้านกาแฟ

          การเปิดร้านกาแฟกำลังเป็นกระแสนิยมของคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากจะเริ่มต้นการมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เนื่องจากกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และมีคนดื่มเครื่องดื่มเมนูกาแฟติด 1 ใน 3 ของเครื่องดื่มประเภทไร้แอลกอฮอล์ ซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าคุณจะหันมองไปทางไหนคุณก็สามารถหาซื้อกาแฟดื่มได้ ถึงแม้จะเป็นเวลาที่เร่งรีบอย่างช่วงเช้าของวันทำงานก็มีร้านกาแฟแบบ Coffee Kiosk ให้คุณซื้อกาแฟดื่มได้ตามสถานีรถไฟฟ้า ในช่วงหลัง 4 - 5 ปีมานี้การ เปิดร้านกาแฟ ในประเทศไทยเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีของคนที่รักกาแฟ และสนใจอยากทำธุรกิจ โดยประเภทของร้านกาแฟสามารถแบ่งแยกย่อยได้ทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีข้อแตกต่าง ข้อดีข้อเสียและขนาดของร้านกาแฟแตกต่างกันอย่างไร ร้านกาแฟแต่ละประเภทจะเหมาะกับคนที่อยากลงทุนเปิดร้านแบบไหนบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไรในการเปิด วันนี้เราได้สรุปทุกอย่างให้คุณเพื่อศึกษาก่อนนำเงินไปลงทุนเปิดร้านกัน

เปิดร้านกาแฟ แบบไหน คือขนาด และรูปแบบที่ลงตัว

   1. Coffee Kiosk

          ร้านกาแฟขนาดเล็กที่มักเปิดในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือมีคนเดินทางหนาแน่น สามารถพบเห็นได้ตามสถานีรถไฟฟ้า สนามบิน หรือใต้อาคารสำนักงาน ร้านกาแฟแบบ Coffee Kiosk เป็นร้านกาแฟขนาดเล็กมาในรูปแบบของตู้หรือแบบเคาเตอร์ โดยพื้นที่ใช้สอยของร้านกาแฟประเภทนี้จะใช้พื้นที่ไม่มาก อาจจะมีโต๊ะนั่งนิดหน่อยประมาณ 3 - 4 โต๊ะหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ซึ่งจำนวนเครื่องดื่ม ขนม หรืออาหารว่างที่วางจำหน่ายก็จะเป็นเมนูสินค้าขายดีหรือได้รับความนิยมอยู่ก่อนแล้ว เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อเครื่องดื่มหรืออาหารจากร้านกาแฟประเภทนี้จะเป็นลูกค้าที่คุ้นชินกับการซื้อแบบ Grap & Go เน้นเรื่องของความรวดเร็วเป็นหลัก ซึ่งร้านกาแฟแบบ Coffee Kiosk เป็นร้านกาแฟที่ลงทุนน้อยเมื่อเทียบกับร้านกาแฟในรูปแบบอื่นๆ แถมยังมีแบบเเฟรนไชส์ให้เลือกอีกด้วย

   2. Full Service

          ขยับขนาดร้านขึ้นมาอีกนิด คุณก็จะได้ร้านกาแฟแบบ Full Service ร้านกาแฟประเภทนี้จะมีที่นั่งมากกว่า จำนวนโต๊ะมากกว่าและรวมไปถึงมีเมนูเครื่องดื่มและขนมที่มากกว่า ซึ่งร้านกาแฟประเภท Full Service สามารถแบ่งแยกประเภทออกไปได้อีก 2 ประเภท คือ ประเภท Chain Store ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดก็ Starbucks หรือ Amazon ที่คุ้นคุณเคยนั้นแหละ ส่วนประเภทที่สอง คือประเภท Independent ร้านกาแฟที่ไม่มีสาขา ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการก็จะเป็นนักลงทุนเริ่มต้นหรือคนที่สนใจอยากทำธุกิจ โดยการเปิดร้านกาแฟ ประเภท Full Service สามารถเลือกตำแหน่งที่ตั้งได้หลากหลายกว่า เพราะไม่มีปัญหาด้านพื้นที่ที่จำกัด ดังนั้นคุณสามารถเปิดร้านได้ทั้งในศูนย์การค้า ปั๊มน้ำมัน หรือแม้กระทั้ง เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน ก็ได้ ขอเพียงตำแหน่งที่ตั้งของร้านกาแฟคุณนั้น มีคนสัญจรไปมาเพื่อจะเลือกซื้อกาแฟจากร้านของคุณ และการเปิดร้านกาแฟที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตามมาด้วยงบประมาณในการลงทุนที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตกแต่งร้าน พนักงาน หรือวัตถุดิบ แต่ถึงกระนั้นการเปิดร้านแบบ Full Service ก็ได้รับกระแสนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจ บางท่านมีเงินทุน แต่ไม่ได้อยากมีแบรนด์เป็นของตัวเองก็อาจจะเลือกเปิดแบบ Chain Store ซึ่งคุณก็สามารถเลือกแฟรนไชส์ที่คุณอยากเปิดได้เลย หรือถ้าคุณอยากมีธุรกิจ มีเงินทุน และอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเองก็เลือกเปิดร้านแบบ independent ซึ่งคุณก็จะต้องมานั่งวิเคราะห์และคำนวณ เผื่อการวางแผนการลงทุนอย่างรัดกุมอีกที

   3. Specialty Coffee

          ร้านกาแฟประเภทนี้ถือว่าใกล้เคียงกับร้านกาแฟประเภท Full Service แต่ที่แตกต่างและโดดเด่นกว่าก็คือร้านกาแฟประเภทนี้จะเน้นไปที่การเลือกสรรเมล็ดกาแฟ โดยส่วนใหญ่เมล็ดกาแฟที่ทางร้านเลือกก็จะมีตั้งแต่เมล็ดกาแฟไทยอย่างเมล็ดกาแฟน่าน เมล็ดกาแฟแจ้ห่ม และเมล็ดกาแฟนอกอย่างเมล็ดกาแฟเอธิโอเปีย หรือเมล็ดกาแฟบราซิล  ซึ่งความแตกต่างและความโดดเด่นของร้านกาแฟประเภท Specialty Coffee ทำให้เงินทุนในการลงทุนสูงกว่า แต่ผลของเงินลงทุนที่สูงกว่า ก็คือคู่แข่งทางด้านธุรกิจน้อยกว่าแบบ Full Service มาก เพราะส่วนใหญ่เจ้าของกิจการที่ลงทุนเปิดร้านประเภทนี้จะเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีความต้องการ มีความรู้เรื่องกาแฟเป็นพิเศษ และมีความพร้อมในการลงทุนสูง เนื่องจากการขายเมนูเครื่องดื่มของร้านกาแฟประเภท Specialty Coffee จะต้องให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเมล็ดกาแฟ และการชงกาแฟกับลูกค้าตลอดเวลา

   4. Coffee Mixologist

          ร้านกาแฟประเภทสุดท้ายที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองใหญ่ๆทั่วโลก คำว่า Mixologist เป็นคำที่ใช้กันในวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภท Cocktail ซึ่งหน้าที่หลักคือการคิดค้น และผสมผสานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากวัตถุดิบที่มี ซึ่งการชงเครื่องดื่มของ Mixologist เป็นการชงที่ใช้เทคนิคที่คล้ายกับการทดลองวิทยาศาสตร์และมีการนำเสนอที่น่าสนใจ โดยการเกิดมาของ Coffee Mixologist ถือเป็นจุดขายและเป็นสีสันใหม่ๆ ให้กับร้านกาแฟ แต่สำหรับใครที่ต้องการเปิดร้านประเภทนี้ เจ้าของกิจการหรือพนักงานจะต้องมีความรู้ มีความสามารถทั้งด้านกาแฟและเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงการลงทุน เปิดร้านกาแฟ ประเภทนี้อาจจะใช้เงินลงทุนมากกว่าร้านกาแฟประเภทอื่นๆ

ขั้นตอนของคนอยากลงทุน เปิดร้านกาแฟ

          นอกจากร้านกาแฟแบบไหนคือขนาดและรูปแบบที่ลงตัวสำหรับคุณแล้ว สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนลงทุนเปิดร้านกาแฟก็คือ คุณต้องรู้เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในการเลือกประเภทของร้านกาแฟและการเริ่มต้นลงทุนเปิดร้านของคุณ

  1. สำรวจงบประมาณของคุณว่าคุณมีงบประมาณที่ตั้งไว้เท่าไหร่ และสะดวกต่อการเปิดร้านประเภทไหน
  2. หาตำแหน่ง ทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน โดยยึดหลักสำคัญคือ “กลุ่มลูกค้า”
  3. ตั้งชื่อร้าน และโลโก้ให้มีจุดเด่นและจำง่าย
  4. ออกแบบตกแต่งร้าน ให้เป็นไปตามคอนเซป
  5. คัดเลือกเมนูเครื่องดื่ม และขนมที่ต้องการขาย
  6. หาซื้อ เครื่องชงกาแฟ และ อุปกรณ์บาร์น้ำ ที่ต้องใช้ภายในร้าน อาทิ เครื่องชงกาแฟ เครื่องบดกาแฟ เครื่องทำน้ำแข็ง แก้วน้ำสำหรับใส่เครื่องดื่ม เมล็ดกาแฟ ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ภายในร้านทั้งหมดคุณสามารถหาซื้อได้จากบาริสต้า บัดดี้ www.baristabuddy.co.th
  7. เรียนรู้เทคนิคการชงกาแฟและเครื่องดื่ม การชงกาแฟไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเปิดร้านและชงได้เลย เพราะการชงกาแฟเป็นเรื่องของรสชาติและศิลปะ การเรียนรู้เทคนิคในการชงเครื่องดื่มจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากกับการเปิดร้านกาแฟ ซึ่งคุณสามารถลงคลาสเรียนการชงกาแฟกับบาริสต้า บัดดี้ได้ โดยคลาสเรียนของบาริสต้า บัดดี้มีตั้งแต่เรียนชงกาแฟขั้นพื้นฐาน Basic Barista, เรียนการดริปกาแฟแบบสายสโลว์บาร์ ​Pour Over และเรียนการชงกาแฟอย่างมีศิลปะ Latte Art
  8. หาบาริสต้า พนักงานประจำร้าน และฝึกฝนให้คล่องแคล่ว
  9. เตรียมชุดพนักงาน และจัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องใช้ทั้งหมดตามต้องการ
  10. วางแผนการเปิดร้าน วางแผนการขาย

ติดต่อสอบถาม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ Line Official คลิ๊ก >> 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้